สรุป
การวิศวกรที่เก่งและดีต้องมีคุณสมบัติดังนี้
วิศวกรที่ดีต้อง
1.) ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ 8 ข้อมีดังนี้
- ให้ความสำคัญ ต่อสวัสดิภาพ สุขภาพ ความปลอดภัยของสาธารณชน และ สิ่งแวดล้อม เป็นอันดับแรก
- ให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง
- ดำรงและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของวิชาชีพวิศวกรรม
- ปฏิบัติงานเฉพาะที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น
- สร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงาน และต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม
- รับผิดชอบต่องานและผลงานในวิชาชีพของตน
- ใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพอย่างซื่อตรง เพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า
- พัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลา
2.) ปฏิบัติตามค่านิยม 12 ประการซึ่งมีใจความหลักๆดังนี้
- รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ รักษาขนบธรรมเนียมประเภณี
- มีความขยัน อดทน ซื่อสัตย์
- รู้จักแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา
- คุณธรรม และ ศีลธรรม
- รู้ข้อกฏหมาย และ ขอบเขตของสิทธิส่วนบุคคล
- รู้จักประมาณตนเอง
- คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม
วิศวกรที่เก่งต้อง
1.) มีความคิดสร้างสรรค์
2.) มีความรู้ทางคณิตศาสตร์
3.) มีความสามารถในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงาน
4.) มีการทำงานเป็นทีม
คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตช่วยให้วิศวกรเป็นคนเก่งได้โดย
1.) คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตมีโปรแกรมที่ช่วยในการออกแบบหรือจำลองงาน เพื่อช่วยในการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่องานเสร็จ
2.) คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต เป็นเวทีให้ผู้ที่มีความสามารถใช้ในการแสดงผลงาน
3.) อินเตอร์เน็ตมีข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ
คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตช่วยให้วิศวกรเป็นคนดีได้โดย
1.) คอมพิวเตอร์สามารถทำใช้จำลองให้เห็นภาพรวมของงานซึ่งสามารถนำไปพิจารณาว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นหรือไม่
2.) อินเตอร์เน็ตทำให้การตรวจสอบความโปร่งใสทำได้ง่ายขึ้น ทำให้การทำผิดจรรยาบรรณและกฏหมายลดน้อยลง
3.) อินเตอร์เน็ตสามารถใช้ตรวจสอบกฏหมาย หรือ จรรยาบรรณต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้ถูก จรรยาบรรณ และ กฏหมาย
วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558
Assignment 2 ความคืบหน้าสัปดาห์ที่ 5 อะไรที่ทำให้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสามารถสร้างวิศวกร คนเก่ง คนดี(4)
คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการคำนวนเพื่อความเเม่นยำ และลดผลเสียที่เกิดภายหลังได้
Assignment2-สัปดาห์ที่5 ข้อ3
1. คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เป็นเวทีให้คนที่มีความสามารถมาแสดงผลงานของตัวเองให้ผู้คนเข้ามาดูความสามรถของตัวเอง ซึ่งมีหลายแบบ เช่น ด้านการร้องเพลง ด้านความบันเทิง เป็นต้น
2. อินเทอร์เน็ต สามรถสร้างรายได้ให้ผู้ใช้ ได้ขายของที่เราทำขึ้นมาหรือขายส่งของ ทำให้เรามีรายได้เสริม ทำให้เป็นคนเก่งและมีความสามารถ เช่น ขายเสื้อผ้ามือสอง ขายของประดับ เป็นต้น
Assignment 2 ความคืบหน้าสัปดาห์ที่ 5 อะไรที่ทำให้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสามารถสร้างวิศวกร คนเก่ง คนดี(3)
1. อินเตอร์เน็ตสามารถช่วยให้การทำงานเป็นกลุ่มสามารถเกิดขึ้นได้แม้อยู่คนละที่กัน ทำให้เป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม
2. คอมพิวเตอร์สามารถจำลองงานที่วิศวกรจะทำ ทำให้ได้เห็นผลงานก่อนล่วงหน้าแม้ว่างานจริงนั้นยังไม่เสร็จก็ตาม
3. ข้อมูลจากการจำลองงานในคอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดเมื่อทำงานเสร็จแล้วได้
4. อินเตอร์เน็ตสามารถใช้ในการหาข้อมูลที่จำเป็นที่เกี่ยวกับงานได้ เช่นใช้หาราคาของแผ่นกระเบื่องที่มีขายในตลาด หรือ สภาพอากาศในสถานที่ต้องใช้งาน
(ช่วยให้เป็นคนดี)
1.) อินเตอร์เน็ตทำให้การตรวจสอบความโปร่งใสทำได้ง่ายขึ้น ทำให้การทำผิดจรรยาบรรณลดน้อยลง
2.) อินเตอร์เน็ตสามารถใช้ตรวจสอบกฏหมาย หรือ จรรยาบรรณต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้ถูก จรรยาบรรณ และ กฏหมาย
3.) คอมพิวเตอร์สามารถทำใช้จำลองให้เห็นภาพรวมของงานซึ่งสามารถนำไปพิจารณาว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่
2. คอมพิวเตอร์สามารถจำลองงานที่วิศวกรจะทำ ทำให้ได้เห็นผลงานก่อนล่วงหน้าแม้ว่างานจริงนั้นยังไม่เสร็จก็ตาม
4. อินเตอร์เน็ตสามารถใช้ในการหาข้อมูลที่จำเป็นที่เกี่ยวกับงานได้ เช่นใช้หาราคาของแผ่นกระเบื่องที่มีขายในตลาด หรือ สภาพอากาศในสถานที่ต้องใช้งาน
(ช่วยให้เป็นคนดี)
1.) อินเตอร์เน็ตทำให้การตรวจสอบความโปร่งใสทำได้ง่ายขึ้น ทำให้การทำผิดจรรยาบรรณลดน้อยลง
2.) อินเตอร์เน็ตสามารถใช้ตรวจสอบกฏหมาย หรือ จรรยาบรรณต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้ถูก จรรยาบรรณ และ กฏหมาย
3.) คอมพิวเตอร์สามารถทำใช้จำลองให้เห็นภาพรวมของงานซึ่งสามารถนำไปพิจารณาว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่
ที่มา : 1) http://lindagalindo.com/wp-content/uploads/2013/12/teamwork1.jpg
2) http://www.padtinc.com/images/services-simulation-rightcCol-left.jpg
3) http://news.mthai.com/wp-content/uploads/2015/06/13631520951363152188l.jpg
4) http://www.cpusolutions.com/store/pc/catalog/autocad-design-software_1475_detail.jpg
5) http://www.rnla.org/images/stocklawimage.jpg
6) http://lh-th.listedcompany.com/images/511Corporate.jpg
7) http://www.applicadthai.com/business/system/files/Article_MI/Article%
20SW_MI_05_01.jpg
Assignment 2 ความคืบหน้าสัปดาห์ที่ 5 อะไรที่ทำให้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสามารถสร้างวิศวกร คนเก่ง คนดี(2)
1. คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต เป็นเวทีให้คนที่มีความสามารถมาแสดงผลงาน
2. อินเทอร์เน็ต สามรถสร้างรายได้ให้ผู้ใช้ ทำให้เป็นคนเก่ง
Assignment 2 ความคืบหน้าสัปดาห์ที่ 5 อะไรที่ทำให้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสามารถสร้างวิศวกร คนเก่ง คนดี
คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตสามารถสร้างวิศวกร คนเก่ง
1. บนอินเทอร์เน็ตนั้น มีข้อมูลมากมาย สำหรับศึกษา หรือค้นหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งนั่นเป็นการเพิ่ม
หนทางในการศึกษาหาความรู้อีกทางหนึ่งที่ จะทำให้วิศวกรสามารถพัฒนาตนเองขึ้นไปได้
2, บนอินเทอร์เน็ตนั้นยังมีโปนแกรมต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าไปทดลองใช้ได้อย่างมากมาย ทำให้
เกิดความชำนาญในการใช้โปรแกรมนั้นๆมากขึ้น
3. คอมพิวเตอร์นั้นมีโปรแกรมมากมายที่ช่วยในการออกแบบงาน หรือใช้นำเสนองาน ซึ่งจำเป็นต่อ
วิศวกร การฝึกฝนใช้โปรแกรมต่างๆให้ชำนาญ ก็ถือเป็นอีกทางหนึ่งในการพัฒนาให้วิศวกรเก่งขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558
Assignment2-สัปดาห์ที่4 - คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตสามารถทำให้วิศวกรเป็นคนเก่ง คนดีได้อย่างไร(ร่าง)
จริงอยู่ที่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตสามารถทำให้วิศวกรเป็นคนเก่ง คนดีได้แต่จำเป็นต้องมีการปลูกฝัง ชี้แนะ ความเป็นวิศวกรทีเก่ง และ ดี จากวิศวกรที่เก่งและเป็นคนดี คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตจึงเป็นตัวช่วยให้วิศวกรเป็นคนเก่งละดีได้ง่ายขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากไม่มีการควบคุม ดูแลการใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตก็อาจจะทำให้ขัดขวางการเป็นวิศวกรที่เก่งและดี ให้เป็นได้ยากขึ้น
ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทกับคนเรามากคอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการผ่อนแรง หรือ ร่นเวลาการทำงานให้น้อยลงไปได้ เช่นการเขียนแบบในคอมพิวเตอร์ที่สามารถวาดเส้นและรูปร่างต่างๆได้ไวกว่า และยังสามารถลบ แก้ไข หรือ คัดลอก แล้วยังสามาถส่งงานไปให้วิศวกรอีกคนที่ไม่ได้อยู่ใกล้ๆ ผ่านทาง อินเตอร์เน็ต งานได้ง่ายกว่าการไม่ใช้คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต สามารถทำให้วิศวะกรเป็นคนดี ได้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของวิศวกรที่เป็นคนดีและเก่ง อีกที โดยผู้ควบคุมจะปลูกฝัง ชี้แนะ การเป็นวิศวกรที่ดี ซึ่งอาจจะใช้อินเตอร์ในช่วยในการชี้แนะ หาตัวอย่างการเป็นวิศกรทีดี
Assignment2-สัปดาห์ที่4
คุณสมบัติที่จำเป็นต่องานวิศวะเป็นอย่างยิ่ง
- ความคิดสร้างสรรค์ ในแง่ของการทำงานเราอาจจะต้องเจอปัญหาหรืออุปสรรค ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้เรามองหาวิธีการใหม่ในการทำงาน หรือหลุดพ้นจากปัญหาเหล่านั้นไปได้
- ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจความซับซ้อนทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาช่วยในการวิเคราะห์ตัวงาน และออกแบบแนวทางในการแก้ปัญหา
- ความสามารถทางเครื่องจักรกล เราต้องมีความเข้าใจเครื่องกลเป็นอย่างดี เพราะหากเราไม่เข้าใจอุปกรณ์ที่จะช่วยเราทำงานแล้ว การทำงานของเราอาจจะไม่ราบรื่นเท่าที่ควร
- การทำงานเป็นทีม ความรู้ความสามารถส่วนบุคคลอาจไม่เพียงพอ เพราะการทำงานที่ดี และสำเร็จไปได้ด้วยดีนั้น เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี ต้องรับรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วยเช่นกัน
งานวิศวกรมีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามรูปแบบ และลักษณะงานวิศวกรแต่ละสาย แต่ส่วนใหญ่แล้วรูปแบบของงาน จะมุ่งเน้นไปที่ การออกแบบ คิดวิเคราะห์ และการพัฒนา โดยแบ่งออกเป็นลักษณะคร่าว ๆ ดังนี้ออกแบบ
-วางแผน และสั่งการก่อสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตลอดจนในโรงงาน หรือสถานที่ประกอบการอื่น ๆวิเคราะห์ และ หา
-แนวทางในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ ในเหมาะกับงาน สิ่งแวดล้อม และผู้คนที่จะมาใช้ชิ้นงานนั้นเลือกใช้เทคโนโลยีที่
-เหมาะสมกับงาน วิศวกรจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เพื่อจะเลือกมาใช้ให้เพราะกับงานที่ ตนเองกำลังทำอยู่
-งานวิศวะส่วนหนึ่งต้องอยู่กับการแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน เพราะเครื่องจักรที่เราใช้อยู่อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้ วิศวกรจึง ต้องรับมือกับปัญหาส่วนนั้นด้วย
-ตรวจสอบ และทดสอบ ตลอดจนประเมินเวลาในการดำเนินการงานในแต่ละโครงการ ว่าจะสำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อใด
Assignment2-สัปดาห์ที่4
เรียนวิศวฯ อย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ
ข้อ 1. หาคนที่สร้างแรงบันดาลใจ แล้วดูว่าอะไรคือแรงบันดาลใจของคนๆ นั้น
การมีแรงบันดาลใจเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราไม่มีแรงบันดาลใจเป็นของตนเอง ก็ให้ดูตัวอย่างจากคนที่จะเป็นต้นแบบให้เราได้ ที่สำคัญจะเรียนสำเร็จหรือทำงานได้ประสบความสำเร็จต้องมีอิทธิบาท 4
ข้อ 2. ทำ Portfolio ประสบการณ์ทำงานของตัวเอง (เท่าที่มีโอกาสและเวลาอำนวย)
ข้อนี้นักศึกษาไทยยังขาดอยู่มาก เพราะเราไม่ได้สอนนักเรียนให้เป็นนักเขียน นักเล่าประสบการณ์ตนเองมากนัก บางครั้งแค่ถามว่านักศึกษาให้อธิบายว่าตัวเองเป็นใคร ชอบอะไร ยังตอบไม่ค่อยได้ดี (ให้ถามผู้ใหญ่บางคนก็ยังตอบไม่ค่อยได้เลย) การเขียนบันทึกประจำวัน (Journal) เป็นเรื่องที่คนไทยไม่ค่อยทำ ทำให้ระบบการเก็บข้อมูล การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ (แม้กระทั่งประวัติของตัวเอง) ขาดหายไป
ข้อ 3. เรียนรู้และเห็นความสำคัญของการ networking (การรู้จักผู้คน การมี connection)
การทำงานวิศวกรรมศาสตร์หรืองานใดๆ ก็ตาม จะต้องทำร่วมกับผู้อื่นเสมอ ยิ่งถ้างานยากๆ หรือซับซ้อน ยิ่งทำคนเดียวไม่ได้ การมีเพื่อนในสาขาต่างๆ การมีมนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ
ข้อ 4. ทำงานเป็นคณะทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ให้มากที่สุด
การทำงานเป็นหมู่คณะหรือทำงานเป็น team รู้จักมี teamwork เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเปรียบโครงการวิศวกรรมเป็นร่างกายคน ทีมงานก็เหมือนอวัยวะต่างๆ ถ้าอวัยวะทำงานไม่สอดคล้องกัน โอกาสที่ร่างกายจะเดินแล้วหกล้มหรือเดินไม่ได้เลยจะมีสูงมาก
ข้อ 5. รู้จักทำงานโดยเป็นผู้นำ(อย่างไม่เป็นทางการ) รู้จัก/เรียนรู้บทบาทผู้นำ โดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำในโครงการหรือคณะทำงานนั้นจริงๆ
ข้อนี้อาจารย์ Crawley บอกว่าเราสามารถเป็นผู้นำ(อย่างไม่เป็นทางการ)ได้เสมอ ไม่ว่าเราจะได้รับการมอบหมายหรือไม่ เพราะถ้าเราชักจูงผู้อื่นเป็น ให้ความเห็นที่ดีๆ แล้วมีผู้ดำเนินการตาม ก็เหมือนเราได้ฝึกเป็นผู้นำนั่นเอง
ข้อ 6. หาจุดอ่อนของตัวเองแล้วแก้ไขเสีย
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าไม่รู้จักตัวเอง หรือคิดว่าตัวเองเก่ง และไม่รู้จักจุดอ่อนของตัวเองนั้นจะเป็นข้อด้อยในการทำงานในอนาคตแน่นอน ปรัชญาจีนกล่าวว่า "รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง" ถ้ารู้เขาก็ไม่รู้ รู้เราก็ไม่รู้.. ก็แพ้่ตั้งแต่ยังไม่ได้เดินแล้ว
ข้อ 7. เรียนวิชาเกี่ยวกับบริหารธุรกิจ
ถึงจะเป็นนักศึกษาเรียนวิศวกรรมศาสตร์ แต่งานวิศวกรรมก็ต้องใช้เงิน ต้องมีการขาย การตลาด การจัดซื้อ การทำบัญชี logistics ฯลฯ เพราะฉะนั้นต้องรู้จักรู้วิชาอื่นๆ นอกจากเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมเพียงอย่างเดียว
ข้อ 8. เรียนวิชาออกแบบและวิชามนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์
เช่นเดียวกันกับข้อที่ผ่านมา เรื่องสังคม มนุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ก็เป็นความรู้ที่นักศึกษาจำเป็นต้องมีในการประกอบวิชาชีพในอนาคต คนที่เก่งทางเทคนิคมากๆ แต่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์เลย จะสื่อสารความเก่งไปยังคนอื่นๆ ไม่ได้ จะไปเป็นหัวหน้างานใครในอนาคตก็คงไม่ค่อยมีผู้ยอมรับ เรื่องนี้เหมือนความสมดุลระหว่างหยินกับหยาง จะแรงไปทางเทคโนโลยีอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะออกไปทางสังคมเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีความรู้ทางเทคโนโลยีก็ไม่ได้เช่นกัน
ข้อ 9. ใช้เวลาช่วงปิดภาคฤดูร้อนให้เป็นประโยชน์
อันนี้ขอเสริมว่านอกจากจะเริ่มใช้เวลาภาคฤดูร้อนหาประสบการณ์เพิ่มเติมแล้ว ควรใช้เวลาที่มีอยู่ตอนเรียนนี้ให้เป็นประโยชน์ด้วย โดยการศึกษาเล่าเรียนอย่างมีเป้าหมาย และเข้าเรียน ทำการบ้าน อ่านหนังสือเพิ่มเติมด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นทำได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต
ข้อ 10. หา Board of directors ส่วนตัว มาเป็นผู้ช่วยในการตัดสินใจหรือสนับสนุนการทำงาน ในที่นี้เหมือนเราเป็นผู้จัดการ บริษัท ต้องมีคณะกรรมการบริหารบริษัทมาช่วยสนับสนุนหรือช่วยตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ในชีวิต คนกลุ่มนี้อาจเป็นผู้ปกครอง ครู อาจารย์ รุ่นพี่ เพื่อน ฯลฯ
(ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/318032)
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558
Assignment2-สัปดาห์ที่3
ค่านิยม 12
ประการ
นักสังคมวิทยา
โรคี ให้ความหมายของค่านิยมไว้ว่าค่านิยมเป็นความเชื่อว่าเป้าหมายอุดมการณ์ หรือ
วิธีปฏิบัติบางอย่างเป็นสิ่งที่ตนและสังคมเห็นว่าดีมีคุณค่า จะยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติและดำเนินชีวิตโดยใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินใจ
ถูก-ผิด หรือ ดี-เลว เกณฑ์ในการตัดสินนั้นมนุษย์เรียนรู้จากสังคมที่ตนเองอยู่
ดังนั้นเมื่อมนุษย์คนใดอยู่ในสังคมหนึ่งนานๆ ค่านิยมของสังคมนั้นๆจะฝังอยู่ในบุคลิกภาพของเขาด้วย
ค่านิยม 12
ประการนั้นมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนในสังคมซึ่งเหมาะกับคนทุกอาชีพ เพศ
หรือ วัย จึงเหมาะสมกับการนำมาเป็นแนวทางการเป็นวิศวกรที่ดีมีคุณธรรมได้
1. รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ชาติเป็นที่ที่ให้เรามีที่อยู่อาศัยและทำการต่างๆหากไม่มีชาติก็อาจจะทำให้ไม่มีที่ปักหลักอาศัยหรือทำงานได้
ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหากไม่มีศาสนา
ก็อาจจะทำให้คนในสังคมไม่มีคุณธรรมทำให้สังคมวุ่นวายหรือไม่มีที่พึ่งพาในเวลาทุกข์ใจ
พระมหากษัตริย์เป็นที่ยึดเหี่ยวจิตใจให้มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว
ดั้งนั้นจึงต้องรักษา 3 สิ่งนี้ไว้เพื่อให้สังคมเป็นปกติสุข
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้
ความซื่อสัตย์
เสียสละ อดทน เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม หากทุกคนไม่มี 3 สิ่งนี้
จะทำให้สังคมมีแต่คนคดโกง ไม่มีความเสียสละ และไม่ทนต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
ทำให้สังคมวุ่นวายและยากต่อการทำงานเป็นกลุ่มอีกด้วย
3. กตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ
ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
เป็นพื้นฐานของการเป็นคนดี ผู้มีพระคุณอาจจะไม่ใช่พ่อหรือแม่
แต่เป็นผู้มีบุญคุณการกตัญญูไม่ใช่การกระทำที่เสียเปล่าเพราะจะทำให้ผู้มีพระคุณมีความเมตาและอยากที่จะให้ความช่วยเหลือต่อไป
4. มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา
มุ่งศึกษาหาความรู้จากการเรียนแต่การเรียนนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนในโรงเรียน
หรือ มหาลัย เสมอไป ต้องมีการเรียนรู้ ปรับตัว และ
พัฒนาความรู้ให้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา
เพราะความรู้บางอย่างก็เก่าเกินไปในเวลาแค่ไม่มีปี
5. รักษา วัฒนธรรมประจำชาติ
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ทำให้คนในชาติมีความภาคภูมิใจและยังทำให้ชาวต่างชาติมีความสนใจมากขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของชาติ
6. ไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา
ทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี
มีน้ำใจ เออเฟื้อเผื่อแผ่ มีศีลธรรมหากทุกคนไม่ยึดมัน ศาสนา และศีลธรรม
ก็จะทำให้ศาสนานั้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่ใช้จำแนกกลุ่มคนเท่านั้นและทำให้สังคมไม่สงบสุข
เพราะคนไม่ยึดมั่นในศีลธรรม
7. เรียนรู้ อธิปไตย ของประชา
อธิปไตยของประชาชน
หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น
สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยนั้นไม่มี ซึ่งอำนาจนั้นเป็นของประชาชน
การเรียนรู้อธิปไตยนั้นจะทำให้เรารู้ว่าเรามีอิสรภาพแต่ต้องอยู่ในกฎกติกา
เพื่อไม่ให้ละเมิดอิสรภาพของผู้อื่นซึ่งจำเป็นต่อการอาศัยอยู่รวมหรือทำงานกับผู้อื่น
8. รักษา วินัย กฎหมายไทย
กฎหมาย เป็นข้อบังคับที่หาละเมิดก็จะได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
วินัยคือการมีความรับผิดชอบการไม่มีวินัยอาจจะไม่ได้รับโทษเหมือนการละเมิดกฎหมาย
แต่จะทำให้การทำงานร่วมกันมีปัญหาหรือผู้อื่นในสังคมได้รับความเดือดร้อนได้
9. ปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส
เช่นการมีความสามัคคี
ไม่ทะเลาะกัน แม้มีความเห็นต่าง เห็นแก่ส่วนรวม มีความพอเพียงพอดี ไม่เกินตัว
10. ไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้
มีความพอเพียงรู้ว่าตนมีกำลังใช่จ่ายเท่าใดไม่ใช่ห้ามซื้อของแพง
แต่ให้ใช่เงินตามความเหมาะสม ถ้าหากใช้เงินเกินตัวก็จะทำให้เกิดหนี้สินทำให้เกิดทุกข์กับผู้เป็นหนี้เอง
และถ้าหากผู้คนในสังคมเป็นหนี้กันเยอะๆจะทำให้ระบบเศรษฐกิจอาจมีปัญหาได้
11. ต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ
การที่เป็นคนดี
มีน้ำใจ เอื่อเฟื่อเผื่อแผ่แต่ไม่มีความเข็มแข็งทั้งกายและใจ
ก็จะทำให้การทำงานไม่สำเร็จลุล่วงไปได้เพราะอ่อนแอไม่สู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นนอกจากนี้ยังหมายถึงการอดทนที่จะไม่ทำอะไรที่ไม่ดีในสังคมซึ่งก็ถือเป็นความอดทนอีกอย่างหนึ่ง
12. คิดอะไร ให้ส่วนรวม
การคิดถึงส่วนรวมจะเป็นลดความเห็นแก่ตัวของแต่ละคนลง
หากคนในสังคมไม่คิดถึงส่วนรวมทุกคนจะเห็นแก่ตัวมีอะไรไม่แบ่งปันกันทำตามแต่ที่ตัวเองสบายแต่ไม่นึกถึงคนอื่น
ซึ่งไม่ดีต่อการอยู่ร่วมกัน
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558
Assignment2-สัปดาห์ที่3
วิศวะกรคนเก่ง
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CprE) คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน
TESA Top Gun Rally 2014
นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
(ECE)
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มจพ.
โดยใช้ชื่อทีมIDE
มีสมาชิก
4
คน
ได้เข้าร่วมTESA
Top Gun Rally 2014
ซึ่งเป็นกิจกรรมการแข่งขันประลองทักษะด้านระบบสมองกลฝังตัว
(Embedded
Systems)คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์รังสิต ในปีนี้ทีม IDE
สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ
และรางวัล Top
Score อีก
3
รางวัล
จากทีมเข้าร่วมทั้งหมด 28
ทีม
จาก 20
มหาวิทยาลัย
และเป็นการคว้ารางวัลชนะเลิศเป็นครั้งที่สอง
หลังจากประสบความสำเร็จในการแข่งขัน
TESA
Top Gun Rally 2012
สมาชิกทีม
IDE
(ที่มา
:
http://cpre.kmutnb.ac.th/esl/2015/01/tesa-topgun-rally-2014-awards/)
ดร.ก้องภพ อยู่เย็น
เป็นวิศวกรประจำอยู่ในองค์การนาซา
(NASA)
และเคยถูกเรียกว่าเป็นวิศวกรไทยที่อายุน้อยที่สุดแห่งนาซา
วิศวะกรคนดี
จรรยาบรรณวิศวกร
ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จรรยาบรรณ ข้อ 1
วิศวกรต้องรับผิดชอบ
และให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
ต่อสวัสดิภาพ สุขภาพ
ความปลอดภัยของสาธารณชน
และ สิ่งแวดล้อม
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- หลีกเลี่ยงไม่รับงานที่จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม และความขัดแย้งกันระหว่างผลประโยชน์ ของผู้ว่าจ้างกับผลประโยชน์ของสาธารณชน
- ทำงานให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมที่เป็นที่ยอมรับโดยให้ระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยของชีวิต และสุขภาพของคนงาน และสาธารณชน รวมถึงทรัพย์สินซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน
- พยายามป้องกันความเสียหายที่จะเกิดแก่สาธารณชน โดยการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงสถานการณ์อันอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่สาธารณชนขึ้นได้
- ขจัดการเผยแพร่ข่าวสารอันเป็นเท็จ หรือข่าวสารที่ขยายเกินความจริง หรือไม่ยุติธรรม
- มีส่วนร่วมในการอภิปรายในที่สาธารณะ เกี่ยวกับเรื่องทางวิศวกรรมในขอบเขตที่ตนเชี่ยวชาญ ทั้งนี้โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำเช่นนี้จะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของสาธารณชน
จรรยาบรรณ ข้อ 2
วิศวกรต้องให้ข้อมูล
และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ
ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- แถลงถึงความคิดเห็นทางวิศวกรรมต่อสาธารณชน เฉพาะเมื่อตนได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องที่แถลงนั้น อย่างถ่องแท้แล้ว
- ผู้ที่เป็นพยานในศาลต้องให้ถ้อยคำต่อศาลด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง และเฉพาะที่ได้รู้ชัดแจ้งเท่านั้น แต่จรรยาบรรณข้อนี้ไม่ได้ห้ามการตอบข้อซักถามที่ต้องใช้การคาดคะเน และพินิจพิจารณาโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
- เปิดเผยถึงผลประโยชน์ใดๆ ที่ตนเกี่ยวข้อง ที่อาจจะมีผลกระทบต่อดุลยพินิจของตนในเรื่องทางเทคนิคที่ตนกำลังแถลง หรือประจักษ์พยานอยู่
จรรยาบรรณ ข้อ 3
วิศวกรต้องดำรงและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต
เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของวิชาชีพวิศวกรรม
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- ปฏิบัติงานที่ได้รับทำ อย่างถูกต้องตามหลักปฏิบัติและวิชาการของวิชาชีพ โดยเคร่งครัด
- ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ใช้วิชาชีพในทางที่ผิดกฎหมาย
- หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่จะนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพวิศวกรรม
- ไม่โฆษณาผลงานของตนเองในลักษณะที่เป็นการโอ้อวด
- ไม่พัวพันเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือประกอบการใดๆ ซึ่งตนรู้อยู่ว่าเป็นการหลอกลวงหรือไม่สุจริต
- ไม่อาศัยการคบหาสมาคมกับบุคคลอื่นๆ หรือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อปกปิดการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณ
- ไม่ประกอบวิชาชีพร่วมกับวิศวกรที่ปฏิบัติตนผิดจรรยาบรรณ และต้องรายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อพบว่ามีวิศวกรกระทำผิดจรรยาบรรณ
จรรยาบรรณ ข้อ 4
วิศวกรต้องปฏิบัติงานเฉพาะที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- ไม่ประกอบอาชีพวิศวกรรมเกินความรู้ความสามารถที่ตนเองจะทำได้
- ในกรณีที่งานที่ได้รับมอบหมายมานั้น ต้องการความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์อย่างอื่น นอกเหนือจากที่ตนเชี่ยวชาญ วิศวกรต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้าของตนทราบอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งแนะนำให้รู้จักผู้ที่เหมาะสมกับงานนั้น
จรรยาบรรณ ข้อ 5
วิศวกรต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงาน
และต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- ไม่ใช้ข้อได้เปรียบหรือตำแหน่งอันมีอภิสิทธิ์ ไปแย่งงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมคนอื่นๆ
- ไม่แอบอ้างผลงานของวิศวกรผู้อื่นมาเป็นของตน โดยยึดหลักไว้เสมอว่างานใดที่วิศวกรผู้ใดผู้หนึ่งทำไว้จะต้องให้เกียรติถือว่าเป็นผลงานของวิศวกรผู้นั้น
- ไม่กระทำการใดๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียง ความก้าวหน้า หรือการปฏิบัติวิชาชีพของวิศวกรอื่น
- ไม่ปลอมแปลงและไม่ให้ข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับคุณสมบัติ ประสบการณ์ หรือภาระความรับผิดชอบที่ผ่านมาของตน
- ไม่รับทำงานหรือตรวจสอบงานชิ้นเดียวกันกับผู้ประกอบอาชพวิศวกรรมคนอื่นทำอยู่แล้ว เว้นแต่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ หรือได้แจ้งให้ผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวกรรมนั้นทราบล่วงหน้าแล้ว
- ไม่รากแซงงานของวิศวกรอื่น เมื่อทราบว่างานนั้นมีวิศวกรอื่นทำงานนั้นอยู่แล้ว ยกเว้นเมื่อผู้ว่าจ้างได้บแกเลิกการจ้างกับวิศวกรผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษรเรียบร้อยแล้ว
- ไม่แข่งขันกับวิศวกรอื่นด้วยการตัดราคาค่าจ้างของตนให้ต่ำกว่า โดยเฉพาะเมื่อทราบอัตราค่าจ้างของผู้นั้นแล้ว
- ไม่ใช้อิทธิพลใดๆ ในการแข่งขันกับวิศวกรอื่น เพื่อให้ได้มาซึ่งงานนั้น
- ไม่เสนอสิ่งตอบแทนใดๆ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม เพื่อให้ได้งานมาทำ
- ไม่วิพากษ์วิจารณ์งานของวิศวกรอื่นต่อสาธารณะ เว้นแต่จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่
- พึงรับงานจากผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้า โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระเชิงวิชาชีพเป็นสำคัญ
จรรยาบรรณ ข้อ 6
วิศวกรต้องรับผิดชอบต่องานและผลงานในวิชาชีพของตน
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- คำนึงอยู่เสมอว่างานทุกอย่างที่ทำไปนั้น ตนต้องรับผิดชอบตลอดอายุการใช้งานตามวัตถุประสงค์การใช้งานเดิม
- คำนึงอยู่เสมอว่าผลงานที่ตนจะต้องรับผิดชอบนั้น อาจจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ และสิ่งที่คาดไม่ถึงในอนาคต
- ติดตามผลงานจากการออกแบบ หรือการให้คำปรึกษาของตน ตลอดระยะเวลาที่ผลงานั้นยังมีการใช้งานอยู่ หากทราบว่ามีข้อบกพร่องใดๆ อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้า หรือแก่สาธารณชน วิศวกรต้องเร่งรัดจัดการเพื่อให้มีการแก้ไข โดยไม่ต้องให้เจ้าของงานทักท้วงก่อน
จรรยาบรรณ ข้อ 7
วิศวกรต้องใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพอย่างซื่อตรง
เพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า
ซึ่งตนปฏิบัติงานให้เสมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- ซื่อตรงต่อผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า เมื่อปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ตนเป็นตัวแทนหรือผู้ได้รับความไว้วางใจจากบุคคลเหล่านั้น
- แสดงสถานะของตนให้ผู้ว่าจ้างทราบก่อนที่จะรับดำเนินการ ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้ตัดสินงานหรือสิ่งอื่นที่ตนอาจจะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย
- รับผิดชอบในความเพียงพอทางเทคนิคของงานวิศวกรรม โดยแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร ถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากผู้มีอำนาจเหนือกว่ามีความเห็นเป็นอย่างอื่น
- ไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนรับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
- ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะเป็นผู้รับเหมาหรือร่วมทุน ในการประกวดราคางานซึ่งตนเป็นวิศวกรผู้รับผิดชอบ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง
- ไม่รับค่าตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด จากผู้ว่าจ้างหลายรายในการให้บริการงานชิ้นเดียวกัน นอกจากจะได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแล้ว
- ไม่เรียก รับ หรือยอกรับทรัพย์สิน ของกำนัล หรือผลประโยชน์ใดๆ สำหรับตนหรือพวกพ้องของตนจากผู้รับเหมา ตัวแทนของผู้รับเหมา ผู้ขายวัสดุอุปกรณ์ หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตนรับผิดชอบอยู่
- แนะนำผู้ว่าจ้างของตนให้จ้างผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ว่าจ้างและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
- ต้องเสนอผลการศึกษาโครงการตามความเป็นจริงทุกประการ โดยไม่มีการบิดเบือนใดๆ
- แจ้งให้ผู้ว่าจ้างของตนทราบทันทีถึงกิจกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้ส่วนเสียและอาจจะเป็นคู่แข่งหรือมีผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ว่าจ้าง และต้องไม่ยอมให้ผลประโยชน์ของธุรกิจใดๆ มีอิทธิพลเหนือการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่ตนทำอยู่
จรรยาบรรณ ข้อ 8
วิศวกรพึงพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
และให้ความสำคัญในการช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
ให้แก่วิศวกรในความดูแลของตนอย่างจริงจัง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้
วิศวกรต้อง
- พัฒนาตนเองในด้านความรู้และความก้าวหน้าในวิชาชีพวิศวกรรม
- เผยแพร่ความรู้วิชาชีพวิศวกรรม
- ให้ความร่วมมือในการส่งเสริมวิชาชีพวิศวกรรม โดยการแลกเปลี่ยนข่าวสารความรู้และประสบการณ์กับวิศวกรอื่น
- สนับสนุนให้ลูกจ้างหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในงานวิชาชีพของตนได้ศึกษาต่อ
- สนับสนุนนิสิตนักศึกษา ในการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาชีพวิศวกรรม
- สนับสนุนโครงการและกิจการด้านวิศวกรรมขององค์กรวิชาชีพวิศวกรรม และสถาบันการศึกษาต่างๆ
(ที่มา
:
http://gear.kku.ac.th/wp-content/uploads/2011/10/ethics1.html)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)