ค่านิยม 12
ประการ
นักสังคมวิทยา
โรคี ให้ความหมายของค่านิยมไว้ว่าค่านิยมเป็นความเชื่อว่าเป้าหมายอุดมการณ์ หรือ
วิธีปฏิบัติบางอย่างเป็นสิ่งที่ตนและสังคมเห็นว่าดีมีคุณค่า จะยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติและดำเนินชีวิตโดยใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตัดสินใจ
ถูก-ผิด หรือ ดี-เลว เกณฑ์ในการตัดสินนั้นมนุษย์เรียนรู้จากสังคมที่ตนเองอยู่
ดังนั้นเมื่อมนุษย์คนใดอยู่ในสังคมหนึ่งนานๆ ค่านิยมของสังคมนั้นๆจะฝังอยู่ในบุคลิกภาพของเขาด้วย
ค่านิยม 12
ประการนั้นมีไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนในสังคมซึ่งเหมาะกับคนทุกอาชีพ เพศ
หรือ วัย จึงเหมาะสมกับการนำมาเป็นแนวทางการเป็นวิศวกรที่ดีมีคุณธรรมได้
1. รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ชาติเป็นที่ที่ให้เรามีที่อยู่อาศัยและทำการต่างๆหากไม่มีชาติก็อาจจะทำให้ไม่มีที่ปักหลักอาศัยหรือทำงานได้
ศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจหากไม่มีศาสนา
ก็อาจจะทำให้คนในสังคมไม่มีคุณธรรมทำให้สังคมวุ่นวายหรือไม่มีที่พึ่งพาในเวลาทุกข์ใจ
พระมหากษัตริย์เป็นที่ยึดเหี่ยวจิตใจให้มีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว
ดั้งนั้นจึงต้องรักษา 3 สิ่งนี้ไว้เพื่อให้สังคมเป็นปกติสุข
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทนได้
ความซื่อสัตย์
เสียสละ อดทน เป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม หากทุกคนไม่มี 3 สิ่งนี้
จะทำให้สังคมมีแต่คนคดโกง ไม่มีความเสียสละ และไม่ทนต่อปัญหาที่เกิดขึ้น
ทำให้สังคมวุ่นวายและยากต่อการทำงานเป็นกลุ่มอีกด้วย
3. กตัญญู พ่อแม่ สุดหัวใจ
ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
เป็นพื้นฐานของการเป็นคนดี ผู้มีพระคุณอาจจะไม่ใช่พ่อหรือแม่
แต่เป็นผู้มีบุญคุณการกตัญญูไม่ใช่การกระทำที่เสียเปล่าเพราะจะทำให้ผู้มีพระคุณมีความเมตาและอยากที่จะให้ความช่วยเหลือต่อไป
4. มุ่งใฝ่ เล่าเรียน เพียรวิชา
มุ่งศึกษาหาความรู้จากการเรียนแต่การเรียนนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนในโรงเรียน
หรือ มหาลัย เสมอไป ต้องมีการเรียนรู้ ปรับตัว และ
พัฒนาความรู้ให้ทันโลกอยู่ตลอดเวลา
เพราะความรู้บางอย่างก็เก่าเกินไปในเวลาแค่ไม่มีปี
5. รักษา วัฒนธรรมประจำชาติ
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
ทำให้คนในชาติมีความภาคภูมิใจและยังทำให้ชาวต่างชาติมีความสนใจมากขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของชาติ
6. ไม่ขาด ศีลธรรม ศาสนา
ทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี
มีน้ำใจ เออเฟื้อเผื่อแผ่ มีศีลธรรมหากทุกคนไม่ยึดมัน ศาสนา และศีลธรรม
ก็จะทำให้ศาสนานั้นเป็นเพียงแค่สิ่งที่ใช้จำแนกกลุ่มคนเท่านั้นและทำให้สังคมไม่สงบสุข
เพราะคนไม่ยึดมั่นในศีลธรรม
7. เรียนรู้ อธิปไตย ของประชา
อธิปไตยของประชาชน
หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น
สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยนั้นไม่มี ซึ่งอำนาจนั้นเป็นของประชาชน
การเรียนรู้อธิปไตยนั้นจะทำให้เรารู้ว่าเรามีอิสรภาพแต่ต้องอยู่ในกฎกติกา
เพื่อไม่ให้ละเมิดอิสรภาพของผู้อื่นซึ่งจำเป็นต่อการอาศัยอยู่รวมหรือทำงานกับผู้อื่น
8. รักษา วินัย กฎหมายไทย
กฎหมาย เป็นข้อบังคับที่หาละเมิดก็จะได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
วินัยคือการมีความรับผิดชอบการไม่มีวินัยอาจจะไม่ได้รับโทษเหมือนการละเมิดกฎหมาย
แต่จะทำให้การทำงานร่วมกันมีปัญหาหรือผู้อื่นในสังคมได้รับความเดือดร้อนได้
9. ปฏิบัติ ตามพระ ราชดำรัส
เช่นการมีความสามัคคี
ไม่ทะเลาะกัน แม้มีความเห็นต่าง เห็นแก่ส่วนรวม มีความพอเพียงพอดี ไม่เกินตัว
10. ไม่ขาด พอเพียง เลี้ยงชีพได้
มีความพอเพียงรู้ว่าตนมีกำลังใช่จ่ายเท่าใดไม่ใช่ห้ามซื้อของแพง
แต่ให้ใช่เงินตามความเหมาะสม ถ้าหากใช้เงินเกินตัวก็จะทำให้เกิดหนี้สินทำให้เกิดทุกข์กับผู้เป็นหนี้เอง
และถ้าหากผู้คนในสังคมเป็นหนี้กันเยอะๆจะทำให้ระบบเศรษฐกิจอาจมีปัญหาได้
11. ต้อง เข้มแข็ง ทั้งกายใจ
การที่เป็นคนดี
มีน้ำใจ เอื่อเฟื่อเผื่อแผ่แต่ไม่มีความเข็มแข็งทั้งกายและใจ
ก็จะทำให้การทำงานไม่สำเร็จลุล่วงไปได้เพราะอ่อนแอไม่สู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นนอกจากนี้ยังหมายถึงการอดทนที่จะไม่ทำอะไรที่ไม่ดีในสังคมซึ่งก็ถือเป็นความอดทนอีกอย่างหนึ่ง
12. คิดอะไร ให้ส่วนรวม
การคิดถึงส่วนรวมจะเป็นลดความเห็นแก่ตัวของแต่ละคนลง
หากคนในสังคมไม่คิดถึงส่วนรวมทุกคนจะเห็นแก่ตัวมีอะไรไม่แบ่งปันกันทำตามแต่ที่ตัวเองสบายแต่ไม่นึกถึงคนอื่น
ซึ่งไม่ดีต่อการอยู่ร่วมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น